ช้อง ลื่อ ย่า
ช้อง ลื่อ ย่า | |
---|---|
𖬌𖬤𖬵 𖬘𖬲𖬞 𖬖𖬲𖬤 | |
เกิด | 15 กันยายน ค.ศ. 1929 ใกล้เมืองหนองแฮด อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 (41 ปี) |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ประดิษฐ์อักษรม้ง อักษรขมุ และธงเจ้าฟ้าม้ง |
ช้อง ลื่อ ย่า (ม้ง: Soob Lwj Yaj, พ่าเฮ่า: 𖬌𖬤𖬵 𖬘𖬲𖬞 𖬖𖬲𖬤;[1] 15 กันยายน ค.ศ. 1929 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณชาวม้งและเป็นผู้ประดิษฐ์พ่าเฮ่า ซึ่งเป็นอักษรกึ่งพยางค์สำหรับการเขียนภาษาม้งและขมุ
เขาถูกลอบสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ในสงครามกลางเมืองลาว เขาได้รับการยกย่องเป็น "มารดาแห่งการเขียน" (Niam Ntawv) ของชาวม้ง ทำนองเดียวกันกับซีโควยา ชาวเชอโรกี ทั้งนี้ช้อง ลื่อ ย่าถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนจากสังคมก่อนวัยเรียนที่สามารถประดิษฐ์ระบบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์[2]
ประวัติ
[แก้]ช้อง ลื่อ ย่า เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเหงะอาน (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเวียดนาม) ใกล้เมืองหนองแฮด (ปัจจุบันอยู่ในแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว) เขาเติบโตขึ้นโดยไม่ได้เล่าเรียนการอ่านและเขียน แม้ว่าจะเคยพบเห็นหรือสังเกตระบบการเขียนต่าง ๆ มาบ้างก็ตาม[3] เขาประกอบกิจเป็นชาวนาและช่างสานตะกร้ามาตลอดชีวิต
ต้น ค.ศ. 1959 เขาอ้างว่ามีชายฝาแฝดสองคนสอนการเขียนพ่าเฮ่าแก่เขาในนิมิต โดยสั่งให้เขานำระบบการเขียนนี้ไปเผยแพร่แก่หมู่ชาวม้งและขมุ เขาเชื่อว่ากลุ่มชนใดยอมรับระบบการเขียนนี้ไปจะประสบแต่ความเจริญและรอดพ้นจากอันตรายในช่วงสงครามกลางเมืองลาว เขาได้รับการยกย่องเป็น "ผู้ช่วยให้รอด" (Theej Kaj Pej Xeem) และเริ่มสอนระบบการเขียนนี้ไปพร้อมกับการประกาศข้อความของการไถ่บาปทั่วประเทศลาว[4] ช้อง ลื่อ ย่าถือเป็นหนึ่งในไม่กี่คนจากสังคมก่อนวัยเรียนที่สามารถประดิษฐ์ระบบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับซีโควยา ผู้ประดิษฐ์อักษรชาวเชอโรกี[2]
ช้อง ลื่อ ย่าประสบความสำเร็จในการสอนระบบการเขียนพ่าเฮ่าและตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าหมู่บ้านนี้กลายเป็นเป้าหมายของกองกำลังคอมมิวนิสต์ เพราะช้องมีความเชื่อมโยงกับนายพล วัง เปา หรือ ว่า ป๋อ (Vaj Pov) นายทหารชาวม้ง และกองทหารของเขา ต่อมาช้องกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในสายตาของชาวม้งที่สนับสนุนรัฐบาลลาว (รวมทั้งนายพลวัง เปา) และชาวม้งที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว นายพล วัง เปา เสนอรางวัลแก่ผู้สังหารช้อง ลื่อ ย่า ซึ่งถูกสังหารในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ขณะช้องเขียนบทประพันธ์อักษรพ่าเฮ่าม้องฉบับสุดท้ายเสร็จ ส่วนฆาตกรที่สังหารช้องได้ พยายามเรียกร้องค่าจ้างจำนวนสามล้านกีบ หรือ 158.96 ดอลลาร์สหรัฐ (ใน ค.ศ. 1974) จากนายพล วัง เปา แต่ภายหลังเขาถูกเจ้าหน้าที่ของไทยสังหารด้วยการปิดตา ใส่กุญแจมือ ก่อนโยนลงแม่น้ำโขง ตามคำสั่งของนายพล วัง เปา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smalley, William Allen, Chia Koua Vang (Txiaj Kuam Vaj ), and Gnia Yee Yang (Nyiaj Yig Yaj ). Mother of Writing: The Origin and Development of a Hmong Messianic Script. University of Chicago Press, May 15, 1990. 1. Retrieved from Google Books on March 23, 2012. ISBN 0226762866, 9780226762869.
- ↑ 2.0 2.1 Wilford, John Noble (22 June 2009). "Carvings From Cherokee Script's Dawn". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
- ↑ Smalley 1990:86–90
- ↑ Smalley 1990:16–25